คุณสามารถ ค้นหาข้อมูล งานสาธารณสุข, และข้อมูลต่างๆของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ โดยกรอกข้อมูลภายในช่อง และกด "ค้นหา"


‹ กลับหน้าหลัก



เทคโนโลยีการบำบัดดินและน้ำที่ปนเปื้อนโลหะหนักโดยใช้พืช

ปัญหาการปนเปื้อนของโลหะหนักในประเทศไทยเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข ผู้เขียนจะกล่าวถึงเฉพาะปัญหาของแคดเมียมในประเทศไทย ในปี 2546 มีรายงานการตรวจพบการปนเปื้อนของแคดเมียมในตัวอย่างข้าว ในพื้นที่ลุ่มน้ำแม่ตาวและพื้นที่ใกล้เคียงในอำเภอแม่สอดโดย International Water Management Institute (IWMI) พบว่ามีแคดเมียมอยู่ในข้าวในระดับ 0.1-4.4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และยังพบว่าร้อยละ 95 ของตัวอย่างเม็ดข้าวที่เก็บมีแคดเมียมโดยเฉลี่ยเกินค่าของ Codex Committee on Food Additives and Contaminants (CCFAC) ซึ่งกำหนดค่าของแคดเมียมไว้ไม่ให้เกิน 0.2 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และไม่เหมาะสมต่อการส่งออก เหตุการณ์แบบนี้คล้ายคลึงกับกรณีโรค อิไตอิไต ที่เกิดในประเทศญี่ปุ่นเมื่อนานมาแล้ว เราคงไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์แบบนั้นในบ้านเรา จึงควรรีบหาทางแก้ไขปัญหา ผู้เขียนคิดว่า เทคโนโลยีการบำบัดดินและน้ำที่ปนเปื้อนโลหะหนักโดยใช้พืช เป็นทางเลือกที่น่าสนใจนำมาแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย เพราะ โลหะหนักมีพิษต่อสิ่งมีชีวิตโดยสะสมในปริมาณที่มากขึ้นเรื่อยๆในห่วงโซ่อาหาร โลหะหนักมักไม่ถูกทำลายหรือสลายตัวช้ามาก เช่น ตะกั่วสามารถคงสภาวะอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้ประมาณ 150-5000 ปี (Freidland 1990)


ผู้จัดทำ : รศ.ดวงรัตน์ อินทร
หน่วยงาน : ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม

Tags : เทคโนโลยี, พืช


08/10/2555 11:44:19


การถ่ายทอดประสบการณ์ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ณ University of Malaya... จากพี่ San สู่ น้อง San


ผู้จัดทำ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธนาศรี สีหะบุตร อาจารย์ ดร. ชวลิต วโรดมรังสิมันตุ์ อาจารย์ ดร. วิธิดา พัฒนอิสรานุกูล
หน่วยงาน : ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม

Tags : ,


13/03/2557 09:44:25


ผลของอุณหภูมิและชนิดของสารเคมีกระตุ้นต่อการดูดซับไอโอดีนของถ่านกัมมันต์ที่เตรียมจากเปลือกมังคุด

ของเสียทางการเกษตรถูกนำมาใช้สำหรับผลิตเป็นวัสดุดูดซับ เนื่องจากมีราคาต่ำและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มังคุดเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมอย่างสูง พบว่าทุกๆ 10 กิโลกรัมของมังคุดสดจะเป็นเปลือกมากถึง 6 กิโลกรัม เปลือกของมังคุดเป็นของเสียทางการเกษตรที่ถูกทิ้งอย่างไร้ประโยชน์ ดังนั้นเปลือกมังคุดจึงเป็นที่น่าสนใจสำหรับนำมาผลิตเป็นวัสดุดูดซับ การศึกษานี้เป็นการทดลองแบบแฟคทอเรียล 4*3 มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะเตรียมวัสดุดูดซับจากเปลือกมังคุดโดยการกระตุ้นทางเคมีด้วย ซิงค์คลอไรด์ กรดฟอสฟอริก และโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ร่วมกับอุณหภูมิกระตุ้นที่ระดับ 400ํc,500ํC,600ํc และ 700ํc เพื่อศึกษาผลของชนิดสารเคมีและอุณหภูมิในการกระตุ้นต่อประสิทธิภาพของวัสดุดูดซับจากเปลือกมังคุดด้วยค่าการดูดซับไอโอดีน จากวิธีมาตรฐาน ASTM D4607-9


ผู้จัดทำ : ชัชวาล สิงหกันต์, ธวัช เพชรไทย, พิศิษฐ์ วัฒนสมบูรณ์, ทราย ไชยวัง
หน่วยงาน : ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม

Tags : เปลือกมังคุด, ถ่านกัมมันต์, การดูดซับไอโอดีน, อุณหภูมิกระตุ้น, สารเคมีกระตุ้น


26/03/2557 11:37:33


การกำจัดบิสฟีนอลเอและการสร้างโพลีแซคคาร์ไรด์จากสาหร่าย Rivularia sp.


ผู้จัดทำ : ไพทิพย์ ธีรเวชญาณ, อลิสา วังใน, ดวงรัตน์ อินทร, สุดารัตน์ นพขุนทด
หน่วยงาน : ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม

Tags : ,


21/03/2555 11:49:27


ความเข้มข้นของอะลูมิเนียมตกค้างในน้ำประปาหมู่บ้านในพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี

งานวิจัยสำรวจพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้มข้นของอะลูมิเนียมตกค้างในน้ำประปาหมู่บ้านในพื้นที่ จังหวัดปราจีนบุรีโดยทำการศึกษาประปาหมู่บ้านที่ใช้น้ำผิวดินจากแม่น้ำปราจีนบุรีเป็นน้ำดิบในการผลิตจำนวน 18 หมู่บ้านในพื้นที่อำเภอกบินทร์บุรีอำเภอประจันตคาม อำเภอศรีมหาโพธิ และอำเภอบ้านสร้าง โดยทำการวิเคราะห์ปริมาณ อะลูมิเนียม (Total aluminium; mg/L) ค่าความขุ่น (Turbidity ; NTU) ค่าสภาพความเป็นด่างรวม (Total alkalinity; as CaCO3) และ ค่าความเป็นกรดด่าง (pH) ในตัวอย่างน้ำดิบก่อนเข้าระบบประปาและตัวอย่างน้ำประปาที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพแล้วจากทั้ง 18 แห่ง โดยผลจากการศึกษาครั้งนี้พบว่าปริมาณอะลูมิเนียมในน้ำดิบก่อนเข้าระบบมีค่าอยู่ในช่วง 0.10 – 2.94 mg/Lในขณะที่ปริมาณอะลูมิเนียมในน้ำประปาที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพมีค่าในช่วง 0.40 – 3.78 mg/L ซึ่งเป็นค่าที่เกินจากคำแนะนำในน้ำดื่มขององค์การอนามัยโลก (0.20 mg/L) และยังพบว่าน้ำประปาจาก 12 หมู่บ้านมีความความขุ่นอยู่ในเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้ตามประกาศกรมอนามัย พ.ศ. 2553 คือไม่เกิน 5 NTU สำหรับค่าสภาพความเป็นด่างรวมของน้ำดิบอยู่ในช่วง 32 – 68 mg/L as CaCO3 และมีค่าลดลงเหลือประมาณ 16 – 40 mg/L as CaCO3 หลังจากการเติมสารส้ม ค่าความเป็นกรดด่างส่วนใหญ่ของแม่น้ำปราจีนบุรีมีค่าเท่ากับ 6.7 และในน้ำประปาที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพแล้วมีค่าอยู่ในช่วง6.4 – 7.1 โดยการวิจัยนี้พบว่ามี4 หมู่บ้านที่ไม่มีการเติมสารส้มลงในระบบฯ และ 2 หมู่บ้านจาก 4 หมู่บ้านดังกล่าวมีความขุ่นอยู่ในเกณฑ์คุณภาพต่ำกว่า 5 NTU และมีการตกค้างของอะลูมิเนียมในน้ำดิบลดลง ดังนั้นผู้ควบคุมระบบควรมีการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำดิบก่อนเพื่อหาความขุ่น ค่าสภาพด่าง ค่าความเป็นกรดด่างและปริมาณสารเคมีที่เหมาะสมในการ ตกตะกอนและคุณภาพน้ำหลังการปรับปรุงให้เป็นไปตามหลักวิชาการ ตลอดจนการหมั่นล้างหน้าทรายกรองเพื่อช่วยลด ปริมาณการตกค้างของอะลูมิเนียมในน้ำประปาร่วมด้วยอีกทางหนึ่ง


ผู้จัดทำ : พัชรพรรณ กอรค็อฟสกี้, พิศิษฐ์ วัฒนสมบูรณ์, ชัชวาล สิงหกันต์, ธวัช เพชรไทย
หน่วยงาน : ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม

Tags : น้ำประปาหมู่บ้าน ระบบประปาหมู่บ้าน อะลูมิเนียมตกค้าง ความขุ่น


24/10/2556 17:08:23


ประสิทธิภาพการกำจัดสารหนูโดยถ่านกะลาและขี้เถ้าแกลบ
REMOVAL EFFICIENCY OF ARSENIC (III) BY COCONUT SHELL CHAR AND RICE HUSK ASH


ผู้จัดทำ : ธฤต ม่วงพลับ, สุเทพ ศิลปานันทกุล, ธนาศรี สีหะบุตร, พิศิษฐ์ วัฒนสมบูรณ์, วงเดือน ปั้นดี
หน่วยงาน : ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม

Tags : -


24/10/2556 17:17:50


การกำจัดบิสฟีนอล เอ โดยใช้สาหร่าย Hapalosihon hibernicus และ Nostoc punctiforme ที่ตรึงในอัลจิเนต


ผู้จัดทำ : ดวงรัตน์ อินทร, ภัทรนิษฐ์ เชียงเหงียม, อลิสา วังใน, เชต ใจกัลยา
หน่วยงาน : ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม

Tags : บิสฟีนอล เอ, สาหร่าย, อัลจิเนต, การตรึงเซลล์


27/03/2557 17:24:20


ผลของวัสดุปรับปรุงดินและจุลินทรีย์ที่มีต่อการดูดซึมสารหนูไปยังต้นข้าวที่ปลูกในดินปนเปื้อนสารหนู


ผู้จัดทำ : ดวงรัตน์ อินทร, ธิติมา คูณสม, ไพทิพย์ ธีรเวชญาณ, ศิราณี ศรีใส
หน่วยงาน : ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม

Tags : arsenic, kaolin, stabilization, rice plant, accumulation


27/03/2557 17:29:33


โครงการเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 3/2557 เรื่อง “ถอดบทเรียนการฝึกปฎิบัตงานพัฒนาอนามัยชนบทเบ็ดเสร็จของนักศึกษา วิทยาศาสตร์อนามัย สิ่งแวดล้อมและอาจารย์สนับสนุนวิชาการ ปีการศึกษา 2556”


ผู้จัดทำ : รองศาสตราจารย์ พิศิษฐ์ วัฒนสมบูรณ์ อาจารย์ ชวลิต วโรดมรังสิมันตุ์ อาจารย์ ธวัช เพชรไทย อาจารย์ วิธิดา พัฒนอิรานุกูล
หน่วยงาน : ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม

Tags : -


19/06/2557 11:53:28


โครงการเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่ 2/2557 เรื่อง “เรียน ป.โทให้จบเร็วอย่างมีคุณภาพ; จากทฤษฏีสู่การปฎิบัติ และกิจกรรมระหว่างเรียน”


ผู้จัดทำ : รองศาสตราจารย์ พิศิษฐ์ วัฒนสมบูรณ์ อาจารย์ ชวลิต วโรดมรังสิมันตุ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ธนาศรี สีหะบุตร อาจารย์ วิธิดา พัฒนอิรานุกูล อาจารย์ ธวัช เพชรไทย
หน่วยงาน : ภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม

Tags : -


07/05/2557 11:56:34



© Copyright คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล All Rights Reserved.
420/1 ถนนราชวิถี เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400.โทร 0-2354-8543